วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 1

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

             ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้น สิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

ลักษณะสำคัญของของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีลักษณะเด่นที่สำคัญ ดังนี้
-          เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิด ระบบอัตโนมัติ เช่น ระบบ ATM 

-         เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจายผู้ใช้บริการ สามารถสั่งซื้อสินค้าจากบ้าน สอบถามข้อมูลหรือเรียนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

-         เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ เข่น ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการลงทะเบียนเรียนทางอิเลคทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 

-         เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ เช่น การพิมพ์จัดทำรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดเก็บภาษีเงินได้ การใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร


ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น

เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล


สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน


การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก


จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 


          
จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ นักคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ ต้องตระหนักถึงร่วมกัน เพื่อความสงบสุขในสังคมสารสนเทศ สารสนเทศส่วนบุคคล ( Personal Information )ปัจจุบันนี้ทั้งองค์กรของรัฐและเอกชน ล้วนแล้วแต่ได้รับความสะดวกในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ในงานทะเบียนราษฎร โรงพยาบาล สำนักงานทนายความ บริษัทประกันภัย ระบบธนาคาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลมีสิทธ ในข้อมูลของตน องค์กรหรือหน่วยงานมิบังควรเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลสู่สาธารณะชน รวมทั้งการส่งข้อความหรือเอกสารทางอินเตอร์เน็ตระหว่างบุคคล ปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัยเพราะอาจมีผู้แอบเปิดจดหมายหรือข้อความส่วนตัวบนระบบเครือข่ายได้ บางกรณีอาจเป็นการใช้สารสนเทศในการทำลายชื่อเสียงหรือหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น การลักลอบทำสำเนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย การขโมยข้อมูลสารสนเทศในขณะที่ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย การแอบใช้รหัสผ่านของผู้มีอำนาจเพื่อเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นความลับของหน่วยงาน การแอบใช้อุปกรณ์ เช่น CPU ของระบบเมนเฟรมเพื่องานส่วนตัว การขโมยฮาร์ดแวร์ การทำลายระบบข้อมูล รวมทั้งการปฏิบัติการของกลุ่มที่เรียกว่า hacker ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพยายามเข้าใช้ระบบสารสนเทศของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะการเข้าสู่ระบบเครือข่ายสารสนเทศของผู้อื่นโดยใช้รหัสปลอม เป็นต้น

งานครั้งที่ 2

1.ทำไมต้องมี MIS

               เนื่องจากการทำงานในปัจจุบัน ต้องเกี่ยวพันกับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น องค์กรส่วนใหญ่จึงเสียเวลาในแต่ละวันไปกับการรวบรวม จดบันทึก การเก็บรักษา และการค้นหาข้อมูล มากถึง 80% ขณะที่การทำธุรกิจมีการแข่งขันกันสูง ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาอย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ย่อมเป็นผลดีต่อธุรกิจ MIS เป็นระบบที่ช่วยขจัดปัญหาต่างๆ แก่ธุรกิจ เนื่องจาก MIS จะช่วยให้องค์กรได้ข้อมูลสารสนเทศที่รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพื่อนำมาใช้ปรับปรุง และพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงาน การจัดทำระบบสารสนเทศในองค์กร ต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกระดับ โดยความต้องการของแต่ละระดับนั้น จะต่างกันไปตามความจำเป็นและความต้องการใช้งาน

2.สารสนเทศระดับผู้ปฎิบัติการ

                  ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป

3.สารสนเทศระดับผู้บริหารระดับกลาง

                  ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อนหรือยุ่งยากมากเกินไป

4.สารสนเทศระดับผู้บริหารระดับสูง

                  ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน และสารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิคบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน








5.อธิบาย สารสนเทศ ระบบเงินเดือนโดยแยกข้อมูล
Input>>Process>information

Input >> ข้อมูลพนักงาน การทำงานของพนักงาน ระยะเวลาการทำงาน
Process>>  ประมวนผลงานที่ออกมา ระยะเวลาการมาทำงาน
Information>>  เงินเดือนของพนักงาน

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งานครั้งที่ 1

1.) MIS (Management Information System)


              MIS (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS 

            เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล


2.) ข้อมูล (data)


                      ข้อมูล  คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่างๆเช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง   ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ  ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ


ข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. 1. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง โดยไม่มีผู้ใดเคยเก็บมาก่อน
  2. 2. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ได้จากผู้ที่เก็บรวบรวมไว้แล้ว
3.) สารสนเทศ
          สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  


4.) ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ไว้หลายประการดังต่อไปนี้
  1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
  2. 2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
  3. 3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
  4. 4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
  5. 5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
  6. 6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิธีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
5.) ลักษณะของสารสนเทศที่ดี

1.               Quality สารสนเทศนั้นต้องมีคุณภาพ กล่าวคือ ประการแรก สารสนเทศนั้นต้องมีความแม่นยำ (Accuracy) ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องมือวัดที่มีค่าความละเอียดที่เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการจะวัด ความละเอียดในการบอกค่า เราเรียกว่า Precision
2.               Timeliness สารสนเทศนั้นต้องมาในช่วงเวลาที่ต้องการ หรือทันต่อเวลา เนื่องจากในการบริหารจัดการโดยทั่วไป จะมีช่วงเวลาที่ต้องการสารสนเทศมาใช้ในการทำงานหรือใช้ในการตัดสินใจ หากว่าในเวลาที่ต้องการใช้สารสนเทศแต่ไม่มีสารสนเทศอยู่ ถึงแม้ว่าในภายหลังจะจัดหาสารสนเทศนั้นมาได้ สารสนเทศนั้นก็อาจไม่มีความหมายอีกต่อไป หากในเวลาที่ต้องการใช้สารสนเทศอย่างหนึ่ง แล้วเรามีสารสนเทศนั้นพร้อมให้ใช้งาน จะเรียกว่า Timeliness
3.  Completeness สารสนเทศนั้นต้องมีความสมบูรณ์ กล่าวคือ สารสนเทศนั้นต้องประกอบด้วยสารสนเทศทั้งหมดทุกมิติที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องการ ส่งผลให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถควบคุม ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ประสานงานได้ทันท่วงที และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. Relevance สารสนเทศนั้นต้องมีความถูกต้องตรงประเด็น หรือ Validity กล่าวคือ เป็นสารสนเทศที่ได้จากการวัดในสิ่งที่สามารถสะท้อนสิ่งที่ต้องการวัดได้

6.) ทำไมต้องมี MIS


        เนื่องจากการทำงานในปัจจุบัน ต้องเกี่ยวพันกับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น องค์กรส่วนใหญ่จึงเสียเวลาในแต่ละวันไปกับการรวบรวม จดบันทึก การเก็บรักษา และการค้นหาข้อมูล มากถึง 80% ขณะที่การทำธุรกิจมีการแข่งขันกันสูง ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาอย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ย่อมเป็นผลดีต่อธุรกิจ


7.) ระบบ MIS


              1. ระบบฐานข้อมูลบุคลากร/สาขาวิชาและหลักสูตร
              2. ระบบเก็บเอกสารประกันคุณภาพการศึกษา
              3. ระบบบริการอาจารย์และนักศึกษา
              4. ระบบบริการบัณฑิตและศิษย์เก่า


8.) ประโยชน์ของสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการ
ดำเนินชีวิตขงอคนเกือบทุกระดับ ซึ่งบทบาทและประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่

1. ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากสิ่งอำนวยควมสะดวกต่าง ๆ
2. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และเกิดการกระจายโอกาส เช่น การใช้ระบบการเรียนการสอนทาง
ไกลผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กที่อยู่ในชนบทหรือเด็กที่อยู่ในถิ่นถุรกันดารมีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเด็กที่อยู่ในเมือง
3. ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น เช่น การใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
4. ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูลเรื่องคุณภาพในแม่น้ำลำคลองต่างๆ
เพื่อนำมาตรวจวัดมลภาวะ แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา เป็นต้น
5. ทำให้เกิดระบบป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์มาควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ หรือระบบป้องกันภัยต่าง ๆ เป็นต้น


9.) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)


         เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดหาคนหรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการทำงานและยังสามารถนำสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ  


 


10.) ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

                ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวม (Integrated) ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะระบบเดียว เนื่องจากขนาดของข้อมูลจะใหญ่ และมีความสลับซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยาก และการนำไปใช้ก็สับสน ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องมีการแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วน

                  ทั้งหมดนี้เป็นระบบย่อยของระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ ซึ่งจะต้องอาศัยการสร้างความสัมพันธ์ของทุกระบบย่อย เพื่อก่อให้เกิดระบบสารสนเทศ ซึ่งแต่ละระบบมีความสำคัญภายในองค์การ เช่น

1.               ระบบประมวลผลรายการ [Transaction Processing Systems (TPS)] เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประจำวันขององค์การ เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกยอดขายต่อวัน เป็นการปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำ ๆ กันทุกวัน (Routine)
2.               ระบบการจัดการรายงาน [Management Reporting Systems (MRS)] ระบบนี้ช่วยในการจัดเตรียมรายงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ (User) โดยทั่วไปข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในรูปของข้อสรุป (Summary Report) หรือรายละเอียดของข้อมูล (Detail Report)
3.               ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [Decision Support Systems (DSS)] ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
4.               ระบบสารสนเทศสำนักงาน [Office Information Systems (OIS)]  เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในสำนักงานโดยอาศัยอุปกรณ์พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer-base) เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องโทรสาร (Facsimile) โมเด็ม (Modem) โทรศัพท์ และสายสัญญาณ รวมถึงระบบโปรแกรม



 

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับ !!

นาย นราธร คูณทวี
สคธ 111                  
เลขที่ 13                 *