วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

      ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูก พัฒนาขึ้น  เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ของธุรกิจให้ดำเนินอย่างเป็นระบบ  โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ  สามารถจำแนกระบบสารสนเทศ ตามหน้าที่ทางธุรกิจ  ดังต่อไปนี้
  • ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System)
  • ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)
  • ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information System)
  • ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินการ (Production and Operations Information System)
  • ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System)
      ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
      ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก  เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล  ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาละเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้  ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานในเชิงบริหารมากขึ้น  เช่น  การออกแบบและพัฒนาระบบงานพัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร  เป็นต้น  โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System) หรือที่เรียกว่า  AIS  จะเป็นระบบที่รวบรวมจัดระบบ  และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กร  โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะใช้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้  หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ  โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
  1. ระบบบัญชีการเงิน (Financial  Accounting  System) บัญชีการเงินเป็นการบันทึก
รายการค้าที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน  จัดหมวดหมู่รายการต่างๆ  สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน  ได้แก่  งบกำไรขาดทุน  งบดุล  และงบกระแสเงินสด  โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ  นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์กร  เช่น  นักลงทุน  และเจ้าหนี้  นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร  ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการประมวลข้อมูล  โดยจดบันทึกลงในสื่อต่างๆ  เช่น  เทป  หรือจานแม่เหล็ก  เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวล  และแสดงผลข้อมูลตามต้องการ

2. ระบบบัญชีบริหาร (Managerial  Accounting  System)  บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอ
      ข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร  เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ  ระบบบัญชีจะประกอบด้วย  บัญชีต้นทุน  การงบประมาณ  และการศึกษาระบบ  โดยมีลักษณะสำคัญคือ
      -ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์กร
      -ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
      -ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
      -มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
      -มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน



      AIS   จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน    ซึ่งเป็น กระบวนการติดต่อสื่อสาร  มากกว่าการวัดมูลค่า  โดยที่  AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล  ควบคุมความปลอดภัย  และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี  ปัจจุบันการดำเนินงานและการหมุนเวียนของข้อมูล การบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น  ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติ ของสารสนเทศด้านการบัญชีสัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์กร  ประการสำคัญ  AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วน ที่แยกออกจากกัน   และเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันแต่   MIS   จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AISจะประมวลสาระสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น นักลงทุน  เจ้าหนี้และผู้บริหารเป็นต้น

 ระบบสารสนเทศด้านการเงิน 

      ระบบการเงิน (Financial System) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ  เพื่อให้ การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดีการทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง  ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรง ต่อระบบร่างกาย  ะบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง  (Liquidity)           ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางตรงและอ้อม   โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ  ดังต่อไปนี้
      1. การพยากรณ์ (Forecast)  
      2. การจัดการด้านการเงิน (Financial  Management) 
      3. การควบคุมทางการเงิน (Financial  control) เงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท  ดังต่อไปนี้
         3.1 การควบคุมภายใน (Internal  Control)
         3.2 การควบคุมภายนอก (External  Control)



ระบบสารสนเทศด้านการตลาด 

      การตลาด (Marketing)  เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้า และบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการการวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนการส่งเสริมการขายจน กระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้าปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วยประสมทางการตลาด  (Marketing   Mix)  หรือส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ  ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4  ประการ  ได้แก่  ผลิตภัณฑ์  (Product)  ราคา   (Price)  สถานที่  (Place)  และการโฆษณา  (Promotion) หรือที่เรียกว่า  4  P’s  โดยสารสนเทศ ที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์  วางแผนตรวจสอบและควบคุมให้แผนการลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
  1. การปฏิบัติงาน  (Operations)  เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขาย  และการดำเนินงานด้านการตลาดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา 
  2. การวิจัยตลาด  (Marketing  Research)  เป็นข้อมูลที่ได้จาการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด  โดยเฉพาะพฤติกรรม และความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ 
  3. คู่แข่ง  (Competitor)  ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง  ไม่เป็นทางการและมีแหล่งที่มาไม่ชัดเจน 
  4. กลยุทธ์องค์กร  (Corporate  Strategy)  เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด  เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ 
  5. ข้อมูลจากภายนอก  (External  Data)  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ  การเมืองสังคม  และเทคโนโลยี  จะส่งผลต่อโอกาส  หรืออุปสรรคของธุรกิจ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น