วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 5 เรื่อง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) หรือ DSS

      ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) หรือ DSS เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่ง โครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้นยังมีระบบสนับสนุน ผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

     
      ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  คืออะไร

      DSS เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ  การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน  ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน  นอกจากนั้น  DSS  ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์  โดยเป็นการ กระทำโต้ตอบกัน  เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง  และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงส้นสุดขั้นตอน  หรืออาจกล่าวได้ว่า  DSS  เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์  เพื่อหาคำตอบที่ง่าย  สะดวก  รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน  ดังนั้นระบบ การสนับสนุนการตัดสินใจจึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ  ข้อมูล  ตัวแบบ  (Model)  และทรัพยากรอื่นๆ  ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ใน การประเมินผลและแก้ไขปัญหา  ดังนั้นหลักการของ  DSS  จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร  ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบ ที่ซับซ้อน  แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น  DSS  จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการงาน  ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความ ต้องการของข้อมูลเท่านั้น

      ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
      กาพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวขององค์กรธุรกิจช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้หลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีขนาดและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจต่างๆ ตลอดจน พัฒนาให้ระบบสามารถสื่อสารตอบโต้อย่างฉับพลันกับผู้ใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยท ี่แนวความคิดนี้ได้เป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) หรือที่นิยมเรียกว่า DSS ในปัจจุบัน

      ดังนั้นสรุปความหมายของ DSS ได้ว่า คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถตอบโต้กับผู้ใช้โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูล และแบบจำลอง ในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง

      ปกติ DSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินปัญหาของผู้บริหารโดย
  • ประมวลและเสนอข้อมูลการตัดสินใจแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
  • ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยผู้บริหารในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือก ให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่สุด
       

      การจัดการกับการตัดสินใจ
      เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้จัดการในแต่ละองค์กรจะต้องทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมากมาย เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน การติดต่อ กับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า แม้กระทั่งในบางครั้งอาจจะต้องเป็นประธานในงานบวชหรืองานแต่งงานของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยที่ Henri Fayol ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ (Management Function) ไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ


                1. การควบคุม (Controlling)
                2. การวางแผน (Planning)
                3. การจัดองค์กร (Organizing)
                4. การตัดสินใจ (Deciding)
                5. การประสานงาน (Coordinating)


ส่วนประกอบของ DSS
      ส่วนประกอบของ DSS สามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

       
คุณสมบัติของ DSS

  • ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน เนื่องจากผู้ใช้อาจมีทักษะทางสารสนเทศที่จำกัด ตลอดจนความเร่งด่วนในการใช้งานและ ความต้องการของปัญหา ทำให้ DSS ต้องมีความสะดวกต่อผู้ใช้
  • สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดย DSS ที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับผู้ใช้อย่างฉับพลัน โดยตอบ สนองความต้องการและโต้ตอบกำผู้ใช้ได้ทันเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา
  • มีข้อมูลและแบบจำลอง สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา
  • สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับปฏิบัติงานที่จัดการข้อมูล สำหรับงานสำหรับงานประจำวันเท่านั้น
  • มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของปัญหาที่ไม่มีความแน่นอน และ เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญกับปัญหาในหลายลักษณะ จึงต้องการระบบสารสนเทศที่จัดรูปข้อมูล ที่ซับซ้อนและง่ายต่อการตัดสินใจ
      คุณสมบัติของ DSS สร้างความเป็นเอกลักษณ์ในการทำงานของระบบ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจปัจจุบัน ดังเห็นได้จาก หลายองค์กรสนับสนุนให้มีการพัฒนาหรือซื้อระบบสารสนเทศที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพขึ้น

      ความแตกต่างระหว่าง DSS กับระบบสารสนเทศอื่น
  1. DSS ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ มิใช่การรวบรวมการหมุนเวียน และการเรียกใช้ข้อมูล ในงานประจำวันเหมือนระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการ
  2. DSS ถูกพัฒนาให้สามารถจัดการข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหากึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักจะ เป็นปัญหาของผู้จัดการระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง ขณะที่ระบบสารสนเทศในสำนักงานจะเกี่ยวข้องกับการทำงานประจำวันของ พนักงาน หรือหัวหน้างานระดับต้น
  3. DSS ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้ โดยต้องมีความยืดหยุ่นสมบูรณ์และ สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากระบบ สารสนเทศในการปฏิบัติงานที่เก็บรวบรวมจัดระเบียบ และจัดการสารสนเทศทั่วไปขององค์กร
  4. ปัจจุบัน DSS มีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เนื่องจากการขยายตัวของ การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในกลุ่มบุคคลระดับต่างๆ ขององค์กร รวมทั้งบุคลากรในระดับผู้บริหารขององค์กรที่มีความสนใจและ มีความรู้ในเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
  5. ผู้ใช้มีส่วนสำคัญในการออกแบบและการพัฒนา DSS เนื่องจากปัญหาในการตัดสินใจจะมีลักษณะที่เฉพาะตัว ตลอดจนผู้ใช้แต่ละคน จะเกี่ยวข้องกับปัญหา หรือมีความถนัดในการใช้งานในระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ประกอบกับผู้ใช้ส่วนมากจะมีความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศสูงขึ้น ปัจจุบันการพัฒนา DSS จะนิยมใช้วิธีการทดลองปฏิบัติแบบตอบโต้ (Interactive) หรือการทำต้นแบบ (Prototyping Approach) เพื่อทดลองใช้และพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเป็นที่พอใจของผู้ใช้

      1. อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะสามารถ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
         1.1 อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกจะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) หรือมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ในสำนักงานเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันองค์กรส่วนมากหันมาใช้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
         1.2 อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วยระบบสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN)  ได้ถูกนำเข้ามาประยุกต์ เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศของ DSS โดยในบางครั้งอาจจะใช้การประชุมโดยอาศัยสื่อวิดีโอ (Video Conference) หรือการประชุมทางไกล (Teleconference) ประกอบ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจอาจอยู่กันคนละพื้นที่
         1.3 อุปกรณ์แสดงผล DSS ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพที่มีความละเอียดสูง เครื่องพิมพ์อย่างดี และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เพื่อช่วยถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนสร้างความเข้าใจในสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ และช่วยให ้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

      2. ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็น ส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วย ส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ
         2.1 ฐานข้อมูล (Database) DSS จะไม่มีหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลขององค์กร เนื่องจากระบบข้อมูล ขององค์กรเป็นระบบขนาดใหญ่ข้อมูลหลากหลายและเกี่ยวข้องกับข้อมูลหลายประเภท แต่ DSS จะมีฐานข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญจากอดีตถึงปัจจุบันและนำมาจัดเก็บ เพื่อให้ง่ายต่อการค้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน และแน่นอน เพื่อนำไปประมวลผลประกอบการตัดสินใจ ขณะเดียงกัน DSS อาจจะต่อเชื่อมกับระบบฐานข้อมูลขององค์กร เพื่อดึงข้อมูลสำคัญบางประเภทมาใช้งาน
 2.2 ฐานแบบจำลอง (Model Base) มีหน้าที่รวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญ เพื่ออำนวยความ สะดวกต่อผู้ใช้ปกติ DSS จะถูกพัฒนาขึ้นมาตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ดังนั้น DSS จะประกอบด้วยแบบจำลองที่ต่างกัน ตามวัตถุประสงค์ ในการนำไปใช้
         2.3 ระบบชุดคำสั่งของ DSS (DSS Software System) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบ ระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลแบบฐานจำลอง โดยระบบชุดคำสั่งของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียก ใช้แบบจำลองต่างๆ โดยระบบ ชุดคำสั่งของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆ เพื่อนำมา ประมวลผลกับข้อมูลจากฐานข้อมูล นอกจากนี้ระบบชุดคำสั่งยังมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการโต้ตอบกับ DSS โดยที่สามารถแสดง ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ
         - ผู้ใช้
         - ฐานแบบจำลอง
         - ฐานข้อมูล

      3. ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันทันสมัย และได้รับการออกแบบ การทำงานให้สอดคล้องกนและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้วก็จะไม ่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังอาจจะสร้างปัญหา หรือความผิดพลาดในการตัดสินใจขึ้นได้ ข้อมูล ที่จะนำมาใช้กับ DSS จะแตกต่างจากข้อมูลในระบบสารสนเทศอื่น โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสมควรที่จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
         3.1 มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้
         3.2 มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
         3.3 สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
         3.4 มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

      4. บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การ กำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนาออกแบบ และการใช้ DSS ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
         4.1 ผู้ใช้ (End-user) เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆตลอดจนนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
         4.2 ผู้สนับสนุน DSS (DSS Supports) ได้แก่ ผู้ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้จัดการ ข้อมูลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบ เพื่อให้ DSS มีความสมบูรณ์ และสามารถดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้
      เราจะเห็นว่าหัวใจสำคัญของ DSS ที่ดีจำเป็นที่ต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบ มีความคิด สร้างสรรค์ และสามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความต้องการขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น